เครื่องชั่งน้ำหนักมีจำหน่ายหลายราคาและหลายรูปแบบ ดังนั้นควรเลือกซื้อตาชั่งน่ำหนักที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นแบบเข็มหรือเครื่องชั่งแบบดิจิทัลก็ตาม ควรซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ดูฟังก์ชั่นที่ตรงกับความต้องการของเรา เพื่อให้ได้เครื่องชั่งน้ำหนักที่ตรงใจและใช้ไปได้นาน ๆ
อ้อ ! และควรวางเครื่องชั่งน้ำหนักในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วย โดยควรวางเครื่องชั่งน้ำหนักบนพื้นผิวที่แข็งและเรียบ ไม่วางบนพรมหรือฟูก เพราะการที่เครื่องชั่งน้ำหนักไม่อยู่นิ่งอาจทำให้สเกลบนเครื่องชั่งเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ที่สำคัญควรตรวจสอบหน้าปัดตาชั่งให้ดีว่าสเกลอยู่ที่เลข 0 ก่อนขึ้นชั่งน้ำหนักหรือไม่
3. ชั่งน้ำหนักเวลาเดิม
เวลาที่เปลี่ยนไปอาจมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเป็นตัวแปรของน้ำหนักตัวได้ ดังนั้นเพื่อความแม่นยำควรชั่งน้ำหนักเวลาเดิม เช่น เคยชั่งน้ำหนักทุก 08.00 น. ก็ควรชั่งเวลานี้ในครั้งต่อไป หรือถ้าไม่สะดวกชั่งน้ำหนักตอนเช้า ก็ชั่งน้ำหนักตัวช่วงไหนก็ได้ ขอแค่เป็นเวลาเดิมทุกครั้ง
4. ชั่งน้ำหนักที่เครื่องชั่งเดิมเป็นประจำ
5. ชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละครั้งก็พอ
การชั่งน้ำหนักทุกวันอาจไม่ทำให้เราเห็นความแตกต่างเท่าไร เผลอ ๆ วันไหนที่น้ำหนักขึ้นก็อาจทำให้เครียดไปอีก ดังนั้นจึงควรชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละครั้งก็พอ เพื่อให้เห็นภาพรวมและพัฒนาการของน้ำหนักตัวที่ตรงกับความเป็นจริงที่สุด หรือถ้าอยากชั่งน้ำหนักทุกวันจริง ๆ ก็ให้จดตัวเลขเอาไว้ แล้วใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ก็ได้
อย่างไรก็ดี น้ำหนักร่างกายไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพที่ดีเสมอไป ดังนั้นจึงไม่ควรเครียดกับตัวเลขบนตาชั่งมาก เพราะอย่าลืมว่ามวลกระดูกของแต่ละคนไม่เท่ากัน โครงสร้างร่างกายก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้นเพียงรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน BMI หรือดัชนีมวลกายก็พอ ตัวนี้แหละที่จะช่วยประเมินสภาวะของร่างกายได้ว่า มีความสมดุลของน้ำหนักตัวและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะหากค่า BMI ต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐานก็อาจเสี่ยงต่อโรคได้
- วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย หาค่า BMI เช็กว่าเราอ้วนหรือยัง
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
healthline
medicalnewstoday
"น้ำหนัก" - Google News
August 27, 2020 at 12:36PM
https://ift.tt/32toLLf
วิธีชั่งน้ำหนักตัวที่ถูกต้อง ควรชั่งตอนไหนดี - Kapook.com
"น้ำหนัก" - Google News
https://ift.tt/2XSuS9P
Home To Blog
No comments:
Post a Comment