-
โรคอ้วน อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ ในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในอนาคตได้
-
นอกจากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และปรับไลฟ์สไตล์แล้ว ยาลดความอ้วนเป็นอีกแนวทางที่เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย แต่ผลเสียคือ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ประสาทหลอน ติดยา และกลับมาอ้วนซ้ำได้
-
ปัจจุบันมีอีกหนึ่งทางเลือกคือปากกาลดน้ำหนักชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยใช้ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย พบว่าช่วยลดน้ำหนักในกลุ่มทดลองลงมากกว่า 10% หรืออย่างน้อย 5% และรอบเอวของผู้ทดลองลดลง 8.2 เซนติเมตร ในช่วง 2 เดือนแรก
ความอ้วนเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับหลายคน โดยเฉพาะคุณผู้หญิง เพราะถ้าหากอ้วนมากเกินไปอาจทำให้เสียบุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจ บางรายอาจเป็นโรคซึมเศร้า จึงเป็นเหตุให้คนอ้วนพยายามหาวิธีการต่างๆ เช่น เข้าคอร์สลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ฉีดยาสลายไขมันส่วนเกิน ดูดไขมัน ผ่าตัดลดขนาดพุงและรอบเอว ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รวมไปถึงการใช้ยาลดน้ำหนักชนิดต่างๆ เช่น ยากดการหิวที่สมอง ยายับยั้งเอนไซม์ย่อยไขมัน เป็นต้น
อย่างไรจึงถือว่า “อ้วน”
พญ.จิตแข เทพชาตรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า “ภาวะอ้วนเกิน” หรือ “โรคอ้วน” (obesity) นั้น สามารถดูจากค่าดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) ซึ่งคำนวณจาก น้ำหนักตัวและส่วนสูง ( คลิกเพื่อหาดัชนีมวลกายของท่าน ) ซึ่งสามารถแปลผลได้ดังนี้
BMI |
BMI มาตรฐานอาเซียน (เอเชีย) |
การแปลผล |
18.5 | 18.5 | น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน |
18.5-24.9 | 18.5-22.9 | ปกติ |
25-29.9 | 23-24.9 | อ้วนระดับ 1 |
30-34.9 | 25-29.9 | อ้วนระดับ 2 |
35-39.9 | มากกว่าหรือเท่ากับ 30 | อ้วนระดับ 3 |
มากกว่าหรือเท่ากับ 40 | – | อ้วนระดับ 4 |
“อ้วนเกิน” เสี่ยงเสียชีวิต
ผู้ที่มีภาวะอ้วนเกิน จะมีเนื้อเยื่อไขมันมากขึ้นตามร่างกายและแทรกตามอวัยวะภายใน ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ผิดปกติ จนเกิดโรคต่างๆ เช่น
- โรคเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เนื่องจากเกิดการอักเสบเรื้อรังจากเซลล์ไขมันจะเข้าไปรบกวนการทำงานของ “ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)” ที่สร้างจากตับอ่อน (คอยควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย) ส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้มีระดับอินซูลินในเลือดสูง ซึ่งจะไปยับยั้งการสลายไขมัน ทำให้มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พุงใหญ่ขึ้น และภัยร้ายในอนาคตก็คือ เบาหวาน และอ้วนลงพุงนั่นเอง
- โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) ด้วยภาวะไขมันผิดปกติในโรคอ้วน จะส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)และกรดไขมันอิสระ(Free fatty acid) และไลโปโปรตีนชนิดบี (ApoB) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบ นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในเวลาต่อมา
- โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบหรือตีบตัน ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป เป็นผลให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือด หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดและหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตกได้
- โรคอ้วนเรื้อรัง เนื่องจากเซลล์ไขมันส่วนเกินจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารเคมีแห่งการอักเสบออกมาชนิดหนึ่ง คือ C-RP (C-Reactive Protein) สาร C-RP นี้จะไปจับกับฮอร์โมน “เลปติน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่บอกให้รู้ว่าอิ่มแล้ว เกิดเป็น C-RP Leptin Complex ที่มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มสมองได้ จึงทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมน “เลปติน” ตามมา
ถ้ามีเซลล์ไขมันสะสมมากเกินไป ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนแห่งความอิ่ม จะยิ่งสร้างมากขึ้นจนร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อ “เลปติน” มากขึ้นด้วย จึงทำให้เราทานเยอะขึ้นและอิ่มยาก - โรคมะเร็ง โดยพบว่า ประมาณ 25-30% ของโรคมะเร็งลำไส้ เต้านม (วัยหมดประจำเดือน) เยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium) ไตและหลอดอาหาร เกิดจากโรคอ้วนและขาดการออกำลังกาย และการลดน้ำหนักเพียง 5-10% จากน้ำหนักเดิมจะทำให้สุขภาพดีขึ้นได้
อาจกล่าวได้ว่า โรคอ้วน เป็นสาเหตุนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในอนาคต
ยาลดความอ้วนในปัจจุบัน
นอกจากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และปรับไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงต่อความอ้วนแล้ว หลายคนหันมาพึ่งยา เนื่องจากไม่มีเวลาในการดูแลตัวเอง หรือต้องการทางลัด เช่น ยากดการหิวที่สมอง ยายับยั้งเอนไซม์ย่อยไขมัน แต่พบว่า ผลเสียของยาลดความอ้วนในกลุ่มที่กดสมอง ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว บีบตัวแรง ความดันโลหิตเพิ่ม รบกวนระบบหายใจ นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ประสาทหลอน ติดยา และโยโย่หรือกลับมาอ้วนซ้ำได้
ปากกาลดน้ำหนัก ตัวช่วยของคนเป็นโรคอ้วนจริงหรือ
คงไม่มีใครคิดว่า นักข่าวคนหนึ่งที่ทำรายการเกี่ยวกับกิ้งก่ายักษ์ Gila monster ซึ่งเป็นกิ้งก่าพื้นเมืองในอเมริกาตอนใต้และสามารถพบได้ตามทะเลทรายในหลายประเทศ จะถูกกัดจนมีภาวะตับอักเสบ คลื่นไส้อาเจียน กินข้าวไม่ลง นำไปสู่การค้นพบว่า น้ำลายกิ้งก่ามีสาร Exendin-4 ที่มีสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกับ human GLP-1 หรือกลุ่มฮอร์โมนในทางเดินอาหารที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ในช่วงแรกจึงพัฒนาออกมาในรูปของยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมีความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยที่ไม่ทำให้น้ำตาลตกหรือวูบ สามารถลดน้ำตาลสะสมหรือ HbA1C ได้ ในผู้ที่ชอบกินหวานบ่อย และทำให้น้ำหนักของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วนลดลงได้ อย่างน้อย 10%
และในปี ค.ศ.2014 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้รับรองยาตัวใหม่ที่ชื่อ liraglutide ชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนังโดยฉีดวันละครั้ง ไว้ใช้สำหรับลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย จากข้อมูลของการศึกษาทางคลินิกพบว่าการรักษาด้วย liraglutide 3.0 มก. สามารถลดน้ำหนักตัวในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก./ตร.ม. (obesity) ได้ทั้งในรายที่เป็นเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน และในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 27 กก./ตร.ม. (overweight) ร่วมกับมีโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นต้น หลังจากที่ได้รับยา 20 สัปดาห์ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึ่งทำให้ผู้ที่ได้รับยากินอาหารได้น้อยลง โดยไม่ส่งผลกดการทำงานของสมองหรือทำให้ติดยาแต่อย่างใด
เจาะลึก ปากกาลดน้ำหนักข้อบ่งใช้
ยา liraglutide ถูกพัฒนาออกมาในรูปของปากกาพร้อมเข็มขนาดเล็กมาก ไว้ฉีดที่ท้อง ต้นขาหรือต้นแขนของคนไข้ เพื่อใช้ลดน้ำหนักในระยะยาว จากการทดลองเทียบกับยาหลอก ในอาสาสมัคร 3,731 คน ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน และมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 30 กก./ตร.ม. (obesity) และในผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 27 กก./ตร.ม. (overweight) ร่วมกับมีโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ หลังเสร็จสิ้นการทดลอง 56 สัปดาห์พบว่า น้ำหนักผู้ทดลองที่ได้รับยา ลดลงมากกว่า 10% หรืออย่างน้อย 5%ในช่วง 2 เดือนแรก อีกทั้งยังทำให้รอบเอวของผู้ทดลองลดลง 8.2 เซนติเมตร และหลังจากหยุดการใช้ยาพบว่ายามีผลทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1.9% เท่านั้น
กลไกการออกฤทธิ์ของยา
ยาชนิดนี้มีความคล้ายกับฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ในร่างกาย หลังจากยาเข้าสู่กระแสเลือด
- ส่งสัญญาณลดความอยากอาหารไปที่สมอง ทำให้หิวน้อยลง
- ลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ช่วยให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น จึงทานอาหารได้น้อยลง
- กระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินมาช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่ทำให้น้ำตาลตกหรือวูบ เพราะยาจะออกฤทธิ์ก็ต่อเมื่อเรากินอาหารเข้าไปแล้วเท่านั้น
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ้าง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเดิน หรือท้องผูก แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน และผู้ใช้ยาจะสามารถปรับตัวกับยาได้เมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์
ข้อห้ามใช้ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์ โรคไทรอยด์ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้ที่มีภาวะตับอ่อนอักเสบ ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ผู้สูงอายุ ผู้ที่กำลังใช้ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด ผู้ที่เป็นโรคตับหรือไต
อย่างไรก็ตาม ปากกาลดน้ำหนักเป็นเพียงแค่แนวทางหนึ่งในการช่วยลดน้ำหนัก เหนือสิ่งอื่นใด คือ การควบคุมอาหาร รับประทานแต่ของที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ไม่เครียด จะช่วยส่งเสริมให้เป้าหมายของการลดน้ำหนักให้สำเร็จไวขึ้น
การลดความอ้วนที่จะประสบความสำเร็จนั้น เราควรเข้าใจร่างกายของเราจากภายในก่อนว่า สาเหตุของความผิดปกติที่แท้จริงนั้น เกิดจากอะไร บางครั้งการคุมอาหารและออกกำลังที่ไม่ถูกวิธี อาจนำไปสู่ความล้มเหลวและล้มเลิกกลางคันได้
"น้ำหนัก" - Google News
September 06, 2020 at 09:28PM
https://ift.tt/3i6m9JX
"ปากกาลดน้ำหนัก" คืออะไร? ทำให้ผอมได้จริงหรือ? - Sanook
"น้ำหนัก" - Google News
https://ift.tt/2XSuS9P
Home To Blog
No comments:
Post a Comment